ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่



1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่ 

2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้ 

3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ 

4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด 

5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง 

6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน 

7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้


วิธีการแก้ไขเมื่อถูกน้ำด่าง



1. เมื่อน้ำด่างกระเด็นสัมผัสผิวหนัง หรือนัยน์ตา - หากกระเด็นถูกผิวหนังหรือร่างกาย ให้ราดบริเวณผิวที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดอย่างละเท่ากัน เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์เปลี่ยนสภาพจากด่างเป็นกลาง ลดความระคายเคือง แล้วห้างด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่รู้สึกคัน แสบร้อน หากยังมีอาการให้ล้างน้ำต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล - หากกระเด็นเข้าตา ให้ล้างน้ำสะอาดหลายครั้ง ตลอดเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล 

2. หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดด่วน การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่ สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขุดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้ ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก


วิธีการแก้ไขและการปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น



1. เมื่อสบู่เป็นด่างเกินกำหนด ให้นำสบู่มาขูดเป็นฝอย ละลายใหม่ ด้วยน้ำ ครึ่งเท่าที่เคยใช้เดิม นำไปตั้งบนลังถึง ไม่ต้องคน เมื่อละลายหมด เติมกรดซิตริก คนเบาๆ วัดค่า pH จนได้ค่าตามต้องการ สบู่ที่ได้จะมีลักษณะเนื้อไม่แน่น ควรนำมาทำสบู่น้ำดีกว่า 

2. ถ้าส่วนผสมไม่ข้น แสดงว่า ด่างน้อยไป แก้โดยเพิ่มด่างเข้าไปอีก เล็กน้อย แล้วกวนต่อไป 

3. ส่วนผสมเป็นก้อนและแยกชั้น แสดงว่า ใช้ด่างมาก ให้เติมน้ำมันหรือกรดไขมัน ลงไปทีละน้อย แล้วตีต่อไป 

4. สบู่ที่ได้เปราะ ตัดไม่สวย ให้เติมกรดไขมันหรือน้ำมันอีกตาม 5-10 เปอร์เซ็นต์ 

5. ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบางส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดีขึ้นดังนี้ - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำมันบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์.....ลงไปด้วย - นำไปต้มนานประมาณ10นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมันอื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา.....( ถ้ายังไม่ได้เติม ) ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 วัน แล้วดำเนินการตามที่.....กล่าวมา การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า เริ่มด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า สรุปแล้ว สบู่ก้อนและสบู่เหลวผสมสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมาย ในประเทศ วิธีการผลิตสบู่ก้อนและสบู่เหลวสมุนไพรก็ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เกษตรกร ประชาชน สามารถผลิตได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีราคาแพง เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้มากแล้วจะได้สบู่ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งออกมาได้ในราคาสูงเป็นการเพิ่มรายได้ ช่วยเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้อีกทางหนึ่งด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น